วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2551

LINUX

รู้จักลีนุกซ์ (Linux Operation Systems)
ลีนุกซ์ถือกำเนิดขึ้นในฟินแลนด์ ปี คศ. 1991 โดยลีนุส โทรวัลด์ส (Linus Torvalds) นักศึกษาภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science) ในมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ โดยได้พัฒนามาจากระบบปฏิบัติการ Minix ที่เป็นระบบยูนิกซ์(Unix)บนพีซีในขณะนั้น ซึ่งตอนแรกเป็นเพียงโครงงานที่เขาทำส่งอาจารย์สมัยเรียนปริญญาตรีเท่านั้น แต่ต่อมาก็ได้มีการพัฒนาต่อ เขาก็ได้ทำการชักชวนให้นักพัฒนาโปรแกรมอื่นๆมาช่วยทำการพัฒนาลีนุกซ์ ซึ่งความร่วมมือส่วนใหญ่ก็จะเป็นความร่วมมือผ่านทางอินเทอร์เนต โดยลีนุสจะเป็นคนรวบรวมโปรแกรมที่ผู้พัฒนาต่างๆ ได้ร่วมกันทำการพัฒนาขึ้นมาและแจกจ่ายให้ทดลองใช้เพื่อทดสอบหาข้อบกพร่อง และทำงานผ่านอินเตอร์เน็ตทั้งหมด ปัจจุบันพัฒนา มาถึงรุ่น 2.4(kernel 2.4) และจะพัฒนาต่อไป อย่างไม่หยุดยั้งเพราะลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่เปิดเผยต้นฉบับโปรแกรม(Source Code) ทำให้เราสามารถแก้ไขปรับปรุงด้วยตัวเราเอง ถ้าเรามีความรู้หรือสามารถเขียนโปรแกรมนั้นได้

ลีนุกซ์ (LINUX) เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภท ระบบปฏิบัติการ ตระกูลหนึ่ง ระบบปฏิบัติการที่เราคุ้นเคยกันมาก่อน คือ Dos, Windows 3.11, Window95, Windows98, Unix ลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการประเภท Unix หรืออาจเรียกว่ายูนิกซ์โคลนที่ใช้งานบนเครื่อง PC แต่ปัจจุบันไม่ได้ใช้งานบนเครื่อง PC เพียงอย่างเดียว สามารถใช้งานได้บนเครื่องตระกูลอื่นด้วย เช่น Sun Sparc, Macintosh ฯลฯ
โปรแกรมระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ประกอบด้วย
1. ตัวระบบปฏิบัติการ หรือเคอร์เนล (kernel)
2. ไลบรารีของระบบ
3. ยูทิลิตี้ของระบบ และการจัดการระบบ
ตัวระบบปฏิบัติการ (kernel)
ทำหน้าทีหลักในการจัดการทรัพยากรต่างๆของระบบ เช่นหน่วยความจำ การจัดคิวสำหรับโปรแกรมต่างๆ การจัดการอุปกรณ์ต่างๆ ซีดีรอม การ์ดแลนด์ พอร์ตอนุกรม พอร์ตขนาน การ์ดพีซีไอ การ์ดแสดงผล ฮาร์ดดิสก์ รวมถึงการจัดระบบแฟ้มข้อมูล เคอร์เนลเราสามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://www.kernel.org/
ไลบรารีของระบบ
เป็นที่เก็บรวบรวมฟังก์ชันมาตรฐานที่ใช้ติดต่อกับเคอร์เนล ทำให้โปรแกรมที่ไปติดต่อกับระบบผ่านฟังก์ชันมาตรฐานเหล่านี้
ยูทิลลิตี้ของระบบ และการจัดการระบบ
ส่วนนี้ประกอบด้วยโปรแกรมที่ทำหน้าที่จัดการระบบในส่วนต่างๆ เช่นระบบไฟล์ ผู้ใช้งานระบบ โมดูล ระบบรักษาความปลอดภัย ระบบเน็ตเวิร์กฯลฯ
โปรแกรมต่างๆบนระบบลีนุกซ์(Linux OS & Application at on)
ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์มีโปรแกรมซึ่งทำงานบนระบบเช่นเดียวกับระบบอื่นๆ ทั้งที่เป็นซอฟแวร์บริหารจัดการระบบภายใน, บริหารจัดการเอกสาร, สำนักงาน, งานนำเสนอ, ป้องกันและรักษาความปลอดภัย, บันเทิง, กราฟิกรูปภาพ, มัลติมีเดีย, พิมพ์เอกสารและไดรเวอร์ต่าง ทั้งนี้ ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ มีส่วนจัดการอันลอกแบบจากระบบยูนิกซ์ จึงก่อให้เกิดเสถียรภาพเนื่องจากการทำงานเป็นระยะยาวนานกว่าระบบอื่นๆ
โปรแกรมบนระบบลีนุกซ์แยกตามประเภท ดังนี้











ลีนุกซ์เข้ามาในประเทศไทยเมื่อใด ไม่ปรากฎแน่ชัดเท่าที่มีข้อมูลจากบรรดาผู้ใช้รุ่นเก่าคาดว่าเข้ามาพร้อมๆกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ระดับเครือข่ายหรือก่อนหน้านั้น แต่มีในระดับอุดมศึกษาแล้วจึงแพร่สู่ประชาชนทั่วไป เพียงในขั้นต้นลีนุกซ์เป็นที่นิยมเฉพาะโปรแกรมเมอร์หรือผู้ใช้ระดับเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายเพราะลีนุกซ์เป็นระบบยูนิกซ์โคลน (ยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายหรือServer)
ลีนุกซ์เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภท ระบบปฏิบัติการ ตระกูลหนึ่ง ระบบปฏิบัติการที่เราคุ้นเคยกันมาก่อน คือ Dos, Windows 3.11, Window95, Windows98, Unix ลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการประเภท Unix หรืออาจเรียกว่ายูนิกซ์โคลนที่ใช้งานบนเครื่อง PC แต่ปัจจุบันไม่ได้ใช้งานบนเครื่อง PC เพียงอย่างเดียว สามารถใช้งานได้บนเครื่องตระกูลอื่นด้วย เช่น Sun Sparc, Macintosh ฯลฯ
สายพันธุ์ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ (Distribution) ดังนี้
1. แมนเดรคซอฟท์ (LinuxManDrake)
2. เรดแฮดลีนุกซ์ (LinuxRedHat)
3. ซูซี่ลีนุกซ์ (LinuxSuse)
4. ขุนศึกลีนุกซ์ (LinuxRTA)
5. ไกลวัลลีนุกซ์ (LinuxKai-wal)
6. ลีนุกซ์อื่นๆอาทิ Slackware, Ziff, FreeBSD, Winlinux, Corel linux, Demien, Lindows, Turbo, PPC, Burapaของม.บูรพา

แมนเดรคซอฟท์(LinuxManDrake)
แมนเดรคซอฟท์ ผู้ผลิตลีนุกซ์สายพันธ์"แมนเดรค" ที่ติดตั้งง่าย พรั่งพร้อมด้วย ระบบบริหารอันสะดวกสบายและทันสมัย อีกทั้งGUI ที่สวยงาม ทั้ง KDE, Gnome
เรดแฮดลีนุกซ์(LinuxRedHat)

เรดแฮดลีนุกซ์(LinuxRedHat)
ลีนุกซ์สายพันธ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดอย่างต่อเนื่องและติดตั้งไม่ยุ่งยากที่สุดมันมีส่วนประ กอบของเครื่องมือบริการส่วนบุคคลที่มีประสิทธิภาพเหมือนเครื่องแม่ข่าย(server) Apache, Samba และOracle มีระบบ GUI ทั้งแบบ KDE และ Gnome
ซูซี่ลีนุกซ์(LinuxSuse)
รู้จักกันเป็นครั้งแรกในงานคอมพิวเตอร์เอ๊กโป ณ เมืองฮันโนเวอร์ สาธารณรัฐเยอรมันตะวันตก Suse linuxได้รับความนิยมกว่าลีนุกซ์ตัวอื่นๆ โดยเฉพาะในทวีปยุโรป, แม้แต่สหรัฐอเมริกาถิ่นของไมโครซอร์ฟ Suse linux เริ่มได้รับความนิยมเช่นกัน
ขุนศึกลีนุกซ์(LinuxRTA)
เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของกองทัพบกไทย (Royal Thai Army) ตามนโยบายพึ่งพาตนเองและสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ขีดความสามารถบุคลากร และเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของหน่วย โดยมีโครงการวิจัย และพัฒนา ระบบเครือข่ายดังกล่าวขึ้นและนำเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตมาเป็นมาตรฐานการพัฒนาระบบงาน และใช้Internet Protocol เป็นมาตรฐานข้อตกลงการติดต่อเชื่อมโยงพร้อมติดตั้งระบบงานต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการใช้งานในระดับหน่วยกองพันขึ้นมา ในนาม "ลีนุกซ์ ขุนศึก" ( LinuxRTA ) เพื่อ
1. ผลิตซอฟต์แวร์ระบบงานบนเครือข่ายสำเร็จรูป ในรูปแผ่น CD-ROM ให้ สามารถนำไปติดตั้งใช้งานภายในหน่วย แบบง่าย ๆ
2. สามารถเชื่อมโยงข้อมูลผ่านเครือข่ายสื่อสารทหาร (MILCOM)
3.สามารถเชื่อมโยงกับระบบเครือข่ายสากล (INTERNET)ได้
ไกลวัลลีนุกซ์(LinuxKai-wal)
ลีนุกซ์ภาษาไทยโดยบริษัท ไกรวัลย์ คอมพิวเตอร์
ตัวอย่างการใช้ลีนุกซ์
การใช้ลีนุกซ์ทะเล 5.0
การเลือกลินุกซ์ทะเล 5.0 เนื่องจากเป็นระบบปฏิบัติการ ที่เป็น Open Source และ GNU Public License เสียค่าใช้ค่าใช้จ่ายน้อย มีระบบภาษาไทยที่สมบูรณ์ มีโปรแกรม Web Server, SQL Database Server, FTP Server ก็เป็น Open Source และ GNU Public License ถ้าหากหน่วยงานของรัฐและเอกชน พร้อมใจที่จะใช้ ลินุกซ์ทะเล 5.0 จะช่วยประหยัดเงินของประเทศได้จำนวนเป็นจำนวนมาก
1. การกำหนดลักษณะเฉพาะของชุดคำสั่งระบบ และการเลือกใช้องค์ประกอบระบบการปฏิบัติการของเครื่อง
1.1 Operating System ลินุกซ์ทะเล 5.0 (Linux TLE 5.0) ประกอบด้วย
1.1.1 Kernel 2.4.18-27 รองรับ Hardware ได้มากขึ้น เช่น Lan Card, USB 2.0 ฯ
1.1.2 XFree 4.3.0 รองรับ Video Card ได้มากขึ้น
1.1.3 มีระบบภาษาไทย
- Text Mode (Terminal)
- Graphic Mode (X Window)
1.2 Servers Software ในลินุกซ์ทะเล 5.0 ประกอบด้วย
1.2.1 Web Server
- httpd 2.0.40 (Apache HTTP Server) ทำหน้าที่ในประมวลผลเว็บเพ็จ ที่เขียนด้วย
ภาษา HTML และ PHP
- PHP 4.2.2 เป็น Script Language ที่ฝังใน HTML ทำหน้าที่ติดต่อกับฐานข้อมูล
- php-mysql เป็นโปรแกรมเสริม PHP เพื่อให้ PHP ติดต่อกับฐานข้อมูล MySQL
- php-pgsql เป็นโปรแกรมเสริม PHP เพื่อให้ PHP ติดต่อกับฐานข้อมูล PostgreSQL
1.2.2 SQL Database Server
- mysql-server เป็น RDBMS (Rational DataBase Management System)
- postgresql-server เป็น ORDBMS (Object Rational DataBase Management System)
1.2.3 FTP Server
- vsftpd ทำหน้าที่ในการย้ายไฟล์ระหว่าง Server กับ Client
1.3 Development Software
1.3.1 Development Tools ใช้สำหรับการพัฒนา Applications เพื่อแจกจ่ายและใช้งาน เช่น gcc,
perl, python ฯ
1.3.2 Kernel Development ใช้สำหรับปรับแต่งและ compile kernel เพื่อให้ลินุกซ์ทะเล
สามารถติดต่อกับอุปกรณ์ Input/Output ที่ออกมาใหม่ได้
1.4 System Software
1.4.1 Administration Tools เป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้กับผู้ดูแลระบบหรือเจ้าของ
เครื่อง สำหรับปรับแต่งระบบ ผ่านทาง GUI (Graphic User Interface) เช่น วันที่ เวลา
ภาษา จอภาพ Network, Mouse Keyboard ฯ
2. การเลือกใช้โปรแกรมอรรถประโยชน์
ในลินุกซ์ทะเล มีโปรแกรมอรรถประโยชน์จำนวนมาก ตามแต่ผู้ใช้จะเลือกใช้ ในส่วนการใช้
ลินุกซ์ทะเลทำหน้าที่เป็น Web Server, SQL Database Server, FTP Server จะเลือกใช้โปรแกรม
อรรถประโยชน์ ดังต่อไปนี้
2.1 pico เป็นโปรแกรมใช้สำหรับการสร้างและแก้ไข Text File จะทำงานบน Text Mode
ผู้ใช้งานลินุกซ์ที่มีความชำนาญในการทำงานบน Text Mode จะใช้โปรแกรมนี้ในปรับแต่ง (Config)
Service ต่างๆ ของ Server
2.2 gedit เป็นโปรแกรมใช้สำหรับการสร้างและแก้ไข Text File จะทำงานบน Graphic Mode
ผู้ใช้งานลินุกซ์ที่มีความชำนาญในการทำงานบน Graphic Mode จะใช้โปรแกรมนี้ในปรับแต่ง
(Config) Service ต่างๆ ของ Server
2.3 service เป็นโปรแกรมใช้ในการ Start/Stop/Restart Service ต่างๆ ของ Server สามารถ
ใช้งานได้ทั้ง Text Mode และ Graphic Mode
2.4 rpm เป็นโปรแกรมใช้ในการติดตั้งหรือยกเลิกการติดตั้ง โปรแกรม
rpm –i ชื่อโปรแกรมที่ต้องการติดตั้ง ต้องมีนามสกุล rpm
rpm –e ชื่อโปรแกรมที่ต้องการยกเลิกติดตั้ง
2.5 mount เป็นโปรแกรมที่ทำให้ลินุกซ์ทะเลติดต่อกับแผ่นดิสก์ และแผ่นซีดี
umount ยกเลิกการติดต่อ
ในกรณีที่เป็นแผ่นซีดี ถ้าไม่ยกเลิกการติดต่อ ไม่สามารถนำแผ่นซีดี ออกจาก CD-ROM Drive
2.6 File Roller เป็นโปรแกรมใช้ในการบีบอัดไฟล์บนลินุกซ์ทะเล ประโยชน์ที่ได้รับ
- ทำให้การย้ายไฟล์ระหว่าง Server กับ Client ได้เร็วขึ้น
- ลดการจราจรบนเครือข่าย ที่เป็น Intranet และ Internet
- ทำให้การย้ายไฟล์หลายๆไฟล์ มีความถูกต้อง เนื่องจากย้ายไฟล์เพียง 1 ไฟล์ ที่รวบรวม
ไฟล์ต่างๆ เก็บไว้ในไฟล์บีบอัด

ยูนิกซ์ คืออะไร

ยูนิกซ์ คืออะไร
ยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการประเภทหนึ่ง ที่เป็นเทคโนโลยีแบบเปิด (open system)ซี่งเป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่ต้อง ผูกติด กับระบบใดระบบหนึ่งหรืออุปกรณ์ยี่ห้อเดียวกัน นอกจากนี้ยูนิกซ์ยังถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองการใช้งานใน ลักษณะให้มีผู้ใช้ได้หลายคน ในเวลาเดียวกัน เรียกว่า มัลติยูสเซอร์ (multiusers)และสามารถทำงานได้หลายๆงานใน เวลาเดียว กันในลักษณะที่เรียกว่ามัลติทาสกิ้ง (multitasking)

การเข้าใช้งานยูนิกซ์
การที่ผู้ใช้จะขอใช้บริการบนระบบยูนิกซ์ได้นั้นจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ดูแลระบบหรือที่เรียกว่าซิสเตมแอดมินิสเตรเตอร์ (System Administrator) ก่อน หลังจากนั้นผู้ใช้จะได้รับรายชื่อผ ู้ใช้หรือล๊อกอินเนม (login name) และรหัสผ่าน (password) มา แต่บางระบบ จะมีรายชื่ออิสระเพื่อให้ผู้ใช้ชั่วคราว โดยอาจมีล๊อกอินเนมเป็น guest,demo หรือ fieldซึ่งจะไม่ต้องใช้รหัสผ่าน การเข้าใช้ระบบเราเรีนกว่า ล๊อกอิน (login) โดยทั่วไปเมื่อระบบพร้อมที่จะให้บริการจะปรากฏข้อความว่า login:หรือข้อความใน ลักษณะที่คล้ายๆ กันรวมเรียกว่า พรอมต์ล๊อกอิน (Prompt log in)เมื่อปรากฏหรอมต์แล้วก็ให้พิมพ์ล๊อกอินเนมของผู้ใช ตามด้วย การกดปุ่มจากนั้นระบบจะสอบถามรหัสผ่าน ก็พิมพ์รหัสที่ถูกต้องลงไปตามด้วยปุ่มซึ่งรหัสผ่านที่พิมพ์ลงไปจะไม่ถูกแสดงผลออก ทางจอภาพเมื่อรหัสผ่านถูกต้องก็จะปรากฏเครื่องหมาย $ ซึ่งเป็นเครื่องหมายเตรียมพร้อมของระบบ
คำสั่งพื้นฐานในการจัดการเกี่ยวกับไฟล์ในยูนิกซ์

$ ls [-altCF] [directory …]
เป็นการแสดงชื่อไฟล์ที่มีอยู่ในไดเรกทอรี่ที่ระบุ ถ้าไม่ระบุจะแสดงสิ่งที่อยู่ในรากปัจจุบัน) โดยแสดงในรูป แบบที่มีมากกว่า 1 ชื่อต่อ 1 บรรทัด คล้ายกับคำสั่ง DIR/W ระบบปฏิบัติการดอสพารามิเตอร์บางส่วนของคำสั่งเป็น ดังนี้
a แสดงชื่อไฟล์ที่ซ่อนไว้
l แสดงรายชื่อแบบยาว
t เรียงลำดับไฟล์ตามลำดับเวลาที่มีการแก้ไขล่าสุด
C แสดงชื่อไฟล์มากกว่าหนึ่งชื่อในแต่ละบรรทัดแต่ถูกคั่นด้วย tab
F แสดงฃื่อรากตามด้วยเครื่องหมาย /และชื่อไฟล์ที่ทำงานได้ด้วยเครื่องหมาย *รายละเอียดของไฟล์

รูปที่ 2 แสดงการใช้คำสั่ง ls
จากรูปที่ 2 จะเห็นถึงการแสดงผลของคำสั่ง ls ที่มีพารามิเตอร์ -al คือแสดงผลในแบบยาว รวมถึงไฟล์ซ่อนด้วย ซึ่งจะเห็นรายละเอียดต่าง ๆ ของไฟล์และมีบางส่วนที่ควรรู้คือ
คอลัมน์แรก ตัวอักษร 10 ตัวบอกประเภทของไฟล์และบอกถึงสิทธิการใช้งานไฟล์นั้น
_ r w x r w x r w x
อักษรตัวแรก บอกประเภทของไฟล์ สัญลักษณ์ที่ควรรู้มี 2 ตัวคือ
"-" เป็นไฟล์ทั่วไป
"d" เป็นไดเรกทอรี่
"l" เป็นลิงค์ไฟล์ (ใช้การเรียกไฟล์ที่ไม่ได้อยู่ในไดเรกทอรี่ที่เราอยู่)
อักษร 3 ตัวกลุ่มที่ 1 บอกถึงสิทธิในการใช้ไฟล์นั้นๆของเจ้าของไฟล์หรือผู้สร้างไฟล์ (owner)
อักษร 3 ตัวกลุ่มที่ 2 บอกถึงสิทธิในการใช้ไฟล์นั้นๆ ของกลุ่มเจ้าของไฟล์ (group)
อักษร 3 ตัวกลุ่มที่ 3 บอกถึงสิทธิในการใช้ไฟล์นั้นๆ ของบุคคลอื่น ๆ (other) โดยที่สัญลักษณ์ของอักษรแต่ละกลุ่มจะเหมือนกันดังนี้
ตำแหน่งที่ 1 ของกลุ่ม "r" หมายถึงสามารถอ่านได้
ตำแหน่งที่ 2 ของกลุ่ม "w" หมายถึงสามารถแก้ไขได้
ตำแหน่งที่ 3 ของกลุ่ม "x" หมายถึงสามารถเอ็กซีคิวต์ได้ (เปิดไฟล์นั้นได้)
คอลัมน์ที่ 2 เป็นหมายเลขบอกถึง ไดเรกทอรี่ย่อยที่อยู่ภายใน ไฟล์ หรือไดเรกทอรี่นั้นๆถ้าเป็นไฟล์คอลัมน์นนั้นจะ เป็นหมายเลข 1 เสมอ
คอลัมน์ที่ 3 แสดงชื่อเจ้าของไฟล์ (owner)
คอลัมน์ที่ 4 แสดงชื่อของกลุ่มที่เป็นเจ้าของไฟล์ (group)
คอลัมน์ที่ 5 แสดงขนาดของไฟล์
คอลัมน์ที่ 6 แสดงวันเวลาที่แก้ไขไฟล์ล่าสุด
คอลัมน์สุดท้าย แสดงชื่อไฟล์ โดยถ้าเป็นไฟล์ซ่อนจะมี "."(จุด)อยู่หน้าไฟล์นั้น


$ pwd
คือคำสั่งที่ใช้เช็คว่าไดเรกทอรี่ปัจจุบันอยู่ที่ตำแหน่งใดแต่ก่อนที่เราจะมาดูรายละเอียดอื่นเรามารู้จักคำว่าไดเรกทอรี่ กันก่อนดีกว่า ไดเรกทอรี่(directory) เนื่องจากไฟล์โปรแกรม หรือข้อมูลต่าง ๆ มีเป็นจำนวนมากทำให้ยากต่อการค้นหาจึงต้องมี การจัดระบบหมวดหมู่ของไฟล์ เป็นไดเรกทอรี่โดยไดเรกทอรี่ก็เปรียบเสมือน กล่องใบหนึ่งโดยไดเรกทอรี่ราก (root directoty) ก็เปรียบเสมือนกล่องใบใหญ่ที่สุดซึ่งจะสามารถนำกล่องใบเล็กๆซ้อนเข้าไปและนำไฟล์ซึ่งเปรียบเสมือนหนังสือจัดเก็บเป็นหมวด หมู่ภายใน กล่องเล็กๆเหล่านั้น และภายในกล่องเล็กๆนั้นก็อาจจะมีกล่องและหนังสือที่เล็กกว่าอยู่ภายในอีกด้วยเหตุนี้ไฟล์จะถูกจัด ไว้เป็นหมวดหมู่ง่ายต่อการค้นหาทีนี้เมื่อเราต้องการจะหาหนังสือสักเล่มที่อยู่ภายในกล่องนั้นเราก็ต้องรู้ว่าหนังสือเล่มนั้นอยู่ในกล่อง ไหนและกล่องที่ใส่หนังสือนั้นอยู่ภายในกล่องอื่นๆอีกหรือไม่เราเรียกเส้นทางที่อยู่ของแต่ละไฟล์ว่า "พาท" (path)



จากผลลัพธ์ที่ได้จะเห็นได้ว่า user (muntana) อยู่ใน directory ของ cpc ซึ่งเป็น subdirectory ของ home และ directory homeก็จะอยู่ภายใต้ root จะสังเกตว่า เมื่อล็อกอินเข้ามาใหม่ และใช้คำสั่ง pwd จะแสดงพาทที่ตัวเองอยู่ซึ่งไม่ใช่ไดเรกทอรี่ ราก (ไม่เหมือนบนดอสหรือวินโดว์สที่เริ่มจากไดเรกทอรี่ราก) เพราะว่าในระบบยูนิกซ์จะมีโฮมไดเรกทอรี่ (home directoty) ซึ่งกำหนดโดยผู้ดูแลระบบและเราไม่สามารถเปลี่ยนได้ หมายเหตุ เมื่อใช้คำสั่ง ls -a จะปรากฎไฟล์แปลก ๆ ขึ้นมา 2 ตัวคือ "." และ ".."ไฟล์ "." หมายถึงไดเรกทอรี่ที่เราอยู่ปัจจุบัน ไฟล์ ".." หมายถึงไดเรกทอรี่ที่อยู่ก่อนหน้านี้ 1 ชั้น
เช่น ถ้าเราอยู่ที่ตำแหน่ง /home/cpc/muntana
ไฟล์ "." หมายถึง /home/cpc/muntana
ไฟล์ ".." หมายถึง /home/cpc



$ cd [ชื่อพาท]
เป็นการเปลี่ยนไดเรกทอรี่ไป เป็นไดเรกทอรี่ที่ต้องการ โดยในการใช้คำสั่งนี้ต้องคามด้วยชื่อพาท เช่น เมื่อเราอยู่ในพาท /data1/home/cpc/muntana และเมื่อเช็คดูแล้วว่ามีไดเรกทอรี่ชื่อ mail จากนั้นพิมพ์ $ cd mail หมายความว่าเป็นการเข้าไปใน กล่องที่ชื่อ mail จากตำแหน่ง ปัจจุบัน เพราะฉนั้นตอนนี้เราจะอยู่ใน พาท /data1/home/cpc/muntana/mail ซึ่งวิธีที่กล่าวมาเป็น การอ้างอิงสัมพันธ์กับตำแหน่งปัจจุบันแต่เรามีอีกวิธีหนึ่งคือการอ้างอิงโดยตรง ทำได้โดยการพิมพ์




รูปที่ 4 แสดงการใช้คำสั่ง cd
ซึ่งการอ้างอิงแบบนี้มีประโยชน์เมื่อมีการอ้างถึงไดเรกทอรี่ที่ไม่อยู่ติดกันจะสะดวกกว่าในกรณีที่เราต้องการออกจากไดเรกทอรีที่เรา อยู่ไปหนึ่งชั้นให้ใช้คำสั่ง $ cd .. ในกรณีที่เราต้องการกลับไปยังไดเรกทอรี่รากโดยตรงก็ใช้คำสั่ง $ cd / หมายเหตุ ถ้าใช้คำสั่ง $ cd โดยไม่มีพาทต่อท้ายจะเป็นการกลับมายังโฮมไดเรกทอรี่ที่กล่าวมาเเล้วข้างต้น


$ mkdir [ชื่อไดเรกทอรี่]
คือคำสั่งที่ใช้ในการสร้างไดเรกทอรี่ใหม่ขึ้น โดยอ้างอิงพาทเช่นเดียวกับคำสั่ง cd เช่น $ mkdir test แล้วใช้คำสั่ง ls เพื่อเช็คดูจะพบไดเรกทอรี่ ชื่อ test
$ rmdir [ชื่อไดเรกทอรี่]
คือการลบไดเรกทอรี่ที่มีอยู่แต่ไดเรกทอรี่ที่ลบจะต้องไม่มีไฟล์หรือไดเรกทอรี่ย่อยอยู่ภายในนั้น
$ rm [ชื่อไฟล์]

คือการลบไฟล์ที่อ้างถึง
$ cat [ชื่อไฟล์]
เป็นการแสดงข้อความในไฟล์ที่เป็นเท็กซ์ไฟล์ (Text Files : ไฟล์ตัวอักษร) แสดงบนจอภาพ
$ mv [ชื่อไฟล์ต้นทาง] [ชื่อไฟล์ปลายทาง]
คือการย้ายไฟล์ (move) จากพาทใดๆที่อ้างอิงถึงไปยังพาทปลายทาง เช่น ถ้าเรามีไฟล์ชื่อ dead.letterอยู่ที่โฮม ไดเรกทอรี่และ เราต้องการย้ายมันไปที่ไดเรกทอรี่ mail ซึ่งอยู่ภายในโฮมไดเรกทอรี่ของเราเอง ทำได้โดยสั่ง
$ mv /data1/home/cpc/muntana/temp /data1/home/cpc/muntana/mail
หรือ $ mv temp /home/cpc/muntana/mail
หรือ $ mv temp mail
หรือ $ mv temp ./mail
หรือ อาจจะอ้างแบบอื่นตามรูปแบบการอ้างอิงพาทก็ย่อมได้